นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
รฟม. มีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ มีระบบบริหารจัดการที่ดี เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน และมีการเติบโตที่ยั่งยืน โดยการกำกับดูแลที่ดีถือเป็นกลไกที่สำคัญที่สนับสนุนการบรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าว ดังนั้นจึงได้กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลที่ดีเพื่อให้คณะกรรมการ รฟม. ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้
1) ยึดมั่นในหลักสำคัญของการกำกับดูแลที่ดี อันได้แก่
• การมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability)
• ความมีสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ (Responsibility)
• การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสุจริตและเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment)
• การดำเนินงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ (Transparency)
• การสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (Value creation)
• การมีจริยธรรมและจรรยาบรรณ (Ethics)
• การมีส่วนร่วม (Particpation)
2) ปฏิบัติตามหลักสำคัญของการกำกับดูแลที่ดีอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3) สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลที่ดีเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4) ให้มีการติดตาม ประเมินผล พัฒนา และปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้องค์กรเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำในด้านการกำกับดูแลที่ดี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี
• นโยบายการต่อต้านทุจริตและรับสินบนของ รฟม.
• นโยบายการรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีของ รฟม.
• นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารสิทธิของหน่วยงานกำกับดูแลของ รฟม.
วิสัยทัศน์การกำกับดูแลกิจการที่ดี
“เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำของประเทศในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี”
โครงสร้างการดำเนินงานด้านกำกับดูแลกิจการที่ดี ของ รฟม.
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติการรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นภาครัฐ
การรายงานการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกิจการ
แนวปฏิบัติในการแสดงความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรมของผู้นำระดับสูง
ปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2514 รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมันส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาทำการศึกษา สำรวจ และวางแผนแม่บทสำหรับการจราจรและขนส่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เสนอแนะให้มีระบบรถขนส่งมวลชนแบบเร็ว (Mass Rapid Transit System) เพื่อแก้ไขปัญหาการเดินทางและการจราจรในกรุงเทพมหานคร จึงได้มี “ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2515” จัดตั้ง “การทางพิเศษแห่งประเทศไทย” ขึ้น เพื่อจัดสร้าง “ทางพิเศษ” ซึ่งประกอบด้วย
ระบบทางด่วน (Express Way)
ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit System)
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ต่อมารัฐบาลพิจารณาเห็นว่า การจราจรทางถนนในกรุงเทพมหานครติดขัดมาก สมควรเร่งรัดการดำเนินการในส่วนของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเดินทางได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2535 เห็นชอบให้จัดตั้งรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงได้มีการตรา “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2535”(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 90 วันที่ 20 สิงหาคม 2535) โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496
โดยที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ. 2535 มีบทบัญญัติที่ไม่เพียงพอต่อการจัดทำ จัดการและการให้บริการขนส่งมวลชนด้วยระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งการดูแลรักษาความปลอดภัยและสาธารณะ ทำให้องค์การรถไฟฟ้ามหานครมีข้อจำกัดในการใช้อำนาจตามกฎหมายและไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการขนส่งมวลชนโดยระบบรถไฟฟ้าได้ทวีความจำเป็นยิ่งขึ้นมาก
จึงได้มีการตรา “พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543” (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 114ก วันที่ 1 ธันวาคม 2543) จัดตั้ง “การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เรียกโดยย่อว่า “รฟม.” เพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์การรถไฟฟ้ามหานครให้สามารถดำเนินกิจการรถไฟฟ้าให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองความปลอดภัยของกิจการรถไฟฟ้าและคนโดยสารรถไฟฟ้า มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา หรือระหว่างจังหวัดดังกล่าว
2. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำโครงการและแผนงานเกี่ยวกับกิจการรถไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัย
3. ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการรถไฟฟ้าและธุรกิจอื่น เพื่อประโยชน์แก่ รฟม. และประชาชนในการใช้บริการกิจการรถไฟฟ้า
ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2545 ได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและได้โอนอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในส่วนของการกำกับดูแลการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มาเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ปีงบประมาณ 2567
ปีงบประมาณ 2566
• แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2566
• โครงการพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลองค์กร ประจำปีงบประมาณ 2566
• รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2566 (รอบ 6 เดือน)
• รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2566 (รอบ 12 เดือน)
• รายงานผลการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมธรรมาภิบาลองค์กร ประจำปีงบประมาณ 2566
• มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการเงิน
• มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล)
• คู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศจากภายนอกสำนักงาน รฟม.
• คู่มือการส่งเสริมความรู้ในการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน รฟม.
• มาตรฐานเกี่ยวกับการใช้รถปฏิบัติงานของ รฟม.
- ระเบียบ รฟม. ว่าด้วยการใช้รถปฏิบัติงานของ รฟม. พ.ศ. 2558
- คู่มือการใช้รถส่วนกลางฝ่ายรักษาความปลอดภัยและกู้ภัย
• มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ระเบียบการปฏิบัติงานการทำสัญญา/วางเงิน
• มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาธุรกิจ
สายเฉลิมรัชมงคล
- ระเบียบปฏิบัติงาน ระบบการให้ข้อมูลข่าวสาร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- ระเบียบปฏิบัติงาน ระบบการรักษาความสะอาด รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- ระเบียบปฏิบัติงาน ระบบการซ่อมบำรุงอาคารและลานจอดรถ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
- ระเบียบปฏิบัติงาน ระบบการให้บริการอาคารและลานจอดรถ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
สายฉลองรัชธรรม
- ระเบียบปฏิบัติงาน ระบบการให้ข้อมูลข่าวสาร รถไฟฟ้ามหารคร สายฉลองรัชธรรม
- ระเบียบปฏิบัติงาน ระบบการรักษาความสะอาด รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
- ระเบียบปฏิบัติงาน ระบบการซ่อมบำรุงอาคารจอดรถ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
- ระเบียบปฏิบัติงาน ระบบการให้บริการอาคารจอดรถ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
• มาตรฐานการปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยและกู้ภัย
- ระเบียบปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานของพนักงานกู้ภัยในภาวะปกติ
- ระเบียบปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยเขตระบบรถไฟฟ้ามหานคร ในภาวะปกติ
- ระเบียบปฏิบัติงาน การตอบโต้เหตุฉุกเฉิน
• คู่มือการยืม-คืน ทรัพย์สินราชการ
- คู่มือการยืม-คืน ทรัพย์สิน (ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์)
- คู่มือการใช้ทรัพย์สินย์ของสำนักความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรของ รฟม. ดำเนินการตามแนวทางระบบการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) ซึ่งมีองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) คือ แนวทางและนโยบายภายในเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของ รฟม. สภาพแวดล้อมภายในองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกระบวนการบริหารความเสี่ยง
2. การกำหนดเป้าหมาย (Objective Setting) การกำหนดเป้าหมายสำหรับการบริหารความเสี่ยงของ รฟม. จะกำหนดจากเป้าหมายการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ในแผนวิสาหกิจ และเป้าหมายอื่นๆ ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจด้านการบริหารความเสี่ยง คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง/คณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กรที่กำหนดเพิ่มเติม
3. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification) คือ การพิจารณาเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเสียหาย โดยการระบุความเสี่ยงจะต้องพิจารณาปัจจัยทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร การระบุความเสี่ยงสามารถทำได้หลายแนวทาง ได้แก่ การสัมภาษณ์ (Interviews) การใช้ดุลยพินิจจากประสบการณ์ทำงาน การระดมความคิดจากส่วนงานต่างๆ (Brainstorming) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ การวิเคราะห์จากข้อมูลในอดีต เป็นต้น
ในการบริหารความเสี่ยงของ รฟม. ได้มีการแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk: S) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดกลยุทธ์และการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ ซึ่งรวมถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร ภาวการณ์แข่งขัน และสภาพแวดล้อม อันส่งผลกระทบต่อองค์กร
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk: O) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการปฏิบัติงานทั้งในส่วนของการบริหารงานบุคลากร และเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงาน
ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk: F) หมายถึง ความเสี่ยงเกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการบริหารจัดการด้านการเงินและการลงทุน
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ (Compliance Risk: C) หมายถึง ความเสี่ยงจากการฝ่าฝืนหรือไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี มาตรฐานต่างๆ หรือ กฎหมาย/ระเบียบที่มีอยู่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
4. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การประเมินความเสี่ยงพิจารณาจากองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และผลกระทบที่เกิดขึ้น (Impact) จากนั้นจึงนำองค์ประกอบทั้งสองมาพิจารณาร่วมกันเพื่อหาระดับความเสี่ยง (Level of Risk)
โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) หมายถึง ความเป็นไปได้ที่ความเสี่ยงหรือเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นโดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก
ผลกระทบที่เกิดขึ้น (Impact) หมายถึง ผลกระทบของความเสี่ยงหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นมูลค่าความเสียหาย ความมีนัยสำคัญต่อวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายความอ่อนไหว (Sensitive) ต่อประชาชน โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก
ระดับความเสี่ยง (Level of Risk) หมายถึง ตัวชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดความสำคัญของความเสี่ยง โดยค่าระดับความเสี่ยงได้มาจากผลคูณระหว่างโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) กับผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) ซึ่ง รฟม. ได้แบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ สูงมาก สูง ปานกลาง และต่ำ ตามเกณฑ์การแบ่งระดับความเสี่ยง ดังนี้
ระดับความเสี่ยงสูงมาก | ค่าระดับความเสี่ยงมากกว่า 16 |
ระดับความเสี่ยงสูง | ค่าระดับความเสี่ยง 10 - 16 |
ระดับความเสี่ยงปานกลาง | ค่าระดับความเสี่ยง 4 - 9 |
ระดับความเสี่ยงต่ำ | ค่าระดับความเสี่ยง 1 - 3 |
5. การจัดการความเสี่ยง (Risk Responses) การพิจารณากำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงโดยจะเลือกใช้กลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งหรือหลายกลยุทธ์รวมกันก็ได้ เพื่อให้ระดับความเสี่ยงลดลงมาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ (4T) ได้แก่ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Terminate), การถ่ายโอนความเสี่ยง (Transfer), การควบคุมความเสี่ยง (Treat), การยอมรับความเสี่ยง (Take)
6. กิจกรรมควบคุม (Control Activities) คือ นโยบายและวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้ฝ่ายบริหารมั่นใจว่าได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกิจกรรมการควบคุมมีทั้งการควบคุมแบบป้องกัน ค้นพบและแก้ไข
7. การติดตามและประเมินผล (Monitoring) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม วิธีการจัดการความเสี่ยงที่กำหนดไว้อาจจะไม่เหมาะสม กิจกรรมควบคุมอาจมีประสิทธิภาพน้อยลง หรือเป้าหมายการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามตรวจสอบว่าการบริหารความเสี่ยงในแต่ละขั้นตอนยังคงมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ ในการติดตามตรวจสอบของ รฟม. จะใช้หลักการประเมินตนเอง (Self - Assessment) โดยส่วนงานหลักรับผิดชอบบริหารจัดการความเสี่ยงใด ส่วนงานนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของตนเอง ทั้งนี้สำนักตรวจสอบจะเป็นส่วนงานหนึ่งที่จะทำการติดตามตรวจสอบตามหน้าที่ประจำของส่วนงาน หรืออาจจะทำการตรวจสอบตามคำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการ รฟม.
8. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) คือ การจัดให้มีการสื่อสารและระบบสารสนเทศความเสี่ยงที่ดี เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารและพนักงานทุกคนเข้าใจกระบวนการและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง