นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
รฟม. มีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ มีระบบบริหารจัดการที่ดี เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน และมีการเติบโตที่ยั่งยืน โดยการกำกับดูแลที่ดีถือเป็นกลไกที่สำคัญที่สนับสนุนการบรรลุเจตนารมณ์ดังกล่าว ดังนั้นจึงได้กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลที่ดีเพื่อให้คณะกรรมการ รฟม. ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ดังนี้
1) ยึดมั่นในหลักสำคัญของการกำกับดูแลที่ดี อันได้แก่
• การมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability)
• ความมีสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ (Responsibility)
• การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสุจริตและเท่าเทียมกัน (Equitable Treatment)
• การดำเนินงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ (Transparency)
• การสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งในระยะสั้นและระยะยาว (Value creation)
• การมีจริยธรรมและจรรยาบรรณ (Ethics)
• การมีส่วนร่วม (Particpation)
2) ปฏิบัติตามหลักสำคัญของการกำกับดูแลที่ดีอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
3) สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลที่ดีเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4) ให้มีการติดตาม ประเมินผล พัฒนา และปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้องค์กรเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำในด้านการกำกับดูแลที่ดี
นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี
• นโยบายการต่อต้านทุจริตและรับสินบนของ รฟม.
• นโยบายการรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีของ รฟม.
• นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารสิทธิของหน่วยงานกำกับดูแลของ รฟม.
วิสัยทัศน์การกำกับดูแลกิจการที่ดี
“เป็นรัฐวิสาหกิจชั้นนำของประเทศในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี”
โครงสร้างการดำเนินงานด้านกำกับดูแลกิจการที่ดี ของ รฟม.
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติการรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นภาครัฐ
การรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางการกำกับดูแลที่ดี
แนวปฏิบัติในการแสดงความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรมของผู้นำระดับสูง
In Bangkok the traffic problem has been becoming more and more critical accordingly. In 1971 with the assist from German Government to Thai Government, a group of expert was sent to Thailand in order to study, survey and set a master plan for traffic and transportation in Bangkok, accordingly, a Mass Rapid Transit System was recommended.
In term of the solution for the travelling and traffic problems in Bangkok, Announcement of the National Executive Council No. 290 dated 27 November 1972 was released to establish the Expressway Authority of Thailand due to construct “Expressway” consisting of express ways and mass rapid transit System that are already proceeded by the Expressway and Rapid Transit Authority of Thailand.
Later on the government has considered that the road traffic in Bangkok was very stuck so that the operation of MRT should be speed up to ease the people in travelling without private cars. Thus, with the Resolution on 28 July 1992 the cabinet approved to establish a state enterprise under the supervision of the Office of Prime Minister to be responsible for the conduct of the Mass Rapid Transit Project in Bangkok and its vicinities. Consequently, the Royal Decree Establishing the Metropolitan Rapid Transit Authority B.E. 2535 (1992) was announced (published in the Government Gazette, Vol. 109 Part 90 on 20 August 1992) in accordance with the Act on Establishment of the Government Organizations B.E. 2496 (1953).
Cause of the Royal Decree Establishing the Metropolitan Rapid Transit Authority B.E. 2535 is provided with inadequate provisions for the establishment, management and services of mass transportation with mass rapid transit including to ensure public safety, the Metropolitan Rapid Transit Authority has got the certain limitation to implement its legal authorities and resulting in the inflexibility and inefficiency on services.
Meanwhile the needs of mass rapid transit has been immensely increasing. Therefore, the Royal Decree Establishing the Mass Rapid Transit Authority of Thailand B.E. 2543 (2000) was announced (published in the Government Gazette, Vol. 117, Part 114 A. on 1 December 2000) establishing Mass Rapid Transit Authority of Thailand, with abbreviation “MRTA” in task of improving the authority and the duties of the Metropolitan Rapid Transit Authority to be able to operate the transit business more systematic and efficient.
In particularly, the authority to ensure the safety of the operation of train and its passengers. The new state enterprise should be under the supervision of the Office of Prime Minister and has its purposes as the following :Operate the mass rapid transit in Bangkok and its vicinity including in other provinces or between provinces in accordance with the Royal Decree.
1.Operate the mass rapid transit in Bangkok and its vicinity including in other provinces or between provinces in accordance with the Royal Decree.
2.Study, analysis and formulate the project and its plan in concerning to the mass rapid transit regarding to improve and modernize.
3.Perform the business involving mass rapid transit and other business on behalf of the benefit of MRTA and the people using its services.
In 2002 after the reform in Government agencies, the authority of the Prime Minister in supervision of the Mass Rapid Transit Authority of Thailand was transferred to the Minister of Transport.
ปีงบประมาณ 2565
ปีงบประมาณ 2564
ปีงบประมาณ 2563
ปีงบประมาณ 2562
การบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรของ รฟม. ดำเนินการตามแนวทางระบบการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) ซึ่งมีองค์ประกอบการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) คือ แนวทางและนโยบายภายในเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของ รฟม. สภาพแวดล้อมภายในองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกระบวนการบริหารความเสี่ยง
2. การกำหนดเป้าหมาย (Objective Setting) การกำหนดเป้าหมายสำหรับการบริหารความเสี่ยงของ รฟม. จะกำหนดจากเป้าหมายการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ในแผนวิสาหกิจ และเป้าหมายอื่นๆ ตามข้อสังเกตของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจด้านการบริหารความเสี่ยง คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง/คณะทำงานบริหารความเสี่ยงองค์กรที่กำหนดเพิ่มเติม
3. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification) คือ การพิจารณาเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเสียหาย โดยการระบุความเสี่ยงจะต้องพิจารณาปัจจัยทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร การระบุความเสี่ยงสามารถทำได้หลายแนวทาง ได้แก่ การสัมภาษณ์ (Interviews) การใช้ดุลยพินิจจากประสบการณ์ทำงาน การระดมความคิดจากส่วนงานต่างๆ (Brainstorming) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ การวิเคราะห์จากข้อมูลในอดีต เป็นต้น
ในการบริหารความเสี่ยงของ รฟม. ได้มีการแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk: S) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดกลยุทธ์และการตัดสินใจด้านกลยุทธ์ ซึ่งรวมถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างนโยบาย เป้าหมาย กลยุทธ์ โครงสร้างองค์กร ภาวการณ์แข่งขัน และสภาพแวดล้อม อันส่งผลกระทบต่อองค์กร
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk: O) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการปฏิบัติงานทั้งในส่วนของการบริหารงานบุคลากร และเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงาน
ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk: F) หมายถึง ความเสี่ยงเกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการบริหารจัดการด้านการเงินและการลงทุน
ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ (Compliance Risk: C) หมายถึง ความเสี่ยงจากการฝ่าฝืนหรือไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี มาตรฐานต่างๆ หรือ กฎหมาย/ระเบียบที่มีอยู่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน
4. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การประเมินความเสี่ยงพิจารณาจากองค์ประกอบ 2 ประการ ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และผลกระทบที่เกิดขึ้น (Impact) จากนั้นจึงนำองค์ประกอบทั้งสองมาพิจารณาร่วมกันเพื่อหาระดับความเสี่ยง (Level of Risk)
โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) หมายถึง ความเป็นไปได้ที่ความเสี่ยงหรือเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นโดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก
ผลกระทบที่เกิดขึ้น (Impact) หมายถึง ผลกระทบของความเสี่ยงหรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นมูลค่าความเสียหาย ความมีนัยสำคัญต่อวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายความอ่อนไหว (Sensitive) ต่อประชาชน โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก
ระดับความเสี่ยง (Level of Risk) หมายถึง ตัวชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดความสำคัญของความเสี่ยง โดยค่าระดับความเสี่ยงได้มาจากผลคูณระหว่างโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) กับผลกระทบของความเสี่ยง (Impact) ซึ่ง รฟม. ได้แบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ สูงมาก สูง ปานกลาง และต่ำ ตามเกณฑ์การแบ่งระดับความเสี่ยง ดังนี้
ระดับความเสี่ยงสูงมาก | ค่าระดับความเสี่ยงมากกว่า 16 |
ระดับความเสี่ยงสูง | ค่าระดับความเสี่ยง 10 - 16 |
ระดับความเสี่ยงปานกลาง | ค่าระดับความเสี่ยง 4 - 9 |
ระดับความเสี่ยงต่ำ | ค่าระดับความเสี่ยง 1 - 3 |
5. การจัดการความเสี่ยง (Risk Responses) การพิจารณากำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงโดยจะเลือกใช้กลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งหรือหลายกลยุทธ์รวมกันก็ได้ เพื่อให้ระดับความเสี่ยงลดลงมาอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ (4T) ได้แก่ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Terminate), การถ่ายโอนความเสี่ยง (Transfer), การควบคุมความเสี่ยง (Treat), การยอมรับความเสี่ยง (Take)
6. กิจกรรมควบคุม (Control Activities) คือ นโยบายและวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนดขึ้นเพื่อช่วยให้ฝ่ายบริหารมั่นใจว่าได้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกิจกรรมการควบคุมมีทั้งการควบคุมแบบป้องกัน ค้นพบและแก้ไข
7. การติดตามและประเมินผล (Monitoring) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม วิธีการจัดการความเสี่ยงที่กำหนดไว้อาจจะไม่เหมาะสม กิจกรรมควบคุมอาจมีประสิทธิภาพน้อยลง หรือเป้าหมายการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามตรวจสอบว่าการบริหารความเสี่ยงในแต่ละขั้นตอนยังคงมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ ในการติดตามตรวจสอบของ รฟม. จะใช้หลักการประเมินตนเอง (Self - Assessment) โดยส่วนงานหลักรับผิดชอบบริหารจัดการความเสี่ยงใด ส่วนงานนั้นจะเป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของตนเอง ทั้งนี้สำนักตรวจสอบจะเป็นส่วนงานหนึ่งที่จะทำการติดตามตรวจสอบตามหน้าที่ประจำของส่วนงาน หรืออาจจะทำการตรวจสอบตามคำสั่งของคณะกรรมการตรวจสอบ หรือคณะกรรมการ รฟม.
8. สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) คือ การจัดให้มีการสื่อสารและระบบสารสนเทศความเสี่ยงที่ดี เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารและพนักงานทุกคนเข้าใจกระบวนการและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง