รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง)

เว็บไซต์โครงการ ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ

เว็บไซต์โครงการwww.mrta-purpleline.com

วีดีทัศน์โครงการ


ความเป็นมาโครงการ

     โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม เริ่มดําเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2552 เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือน สิงหาคม 2559

ลักษณะโครงการ

แนวเส้นทาง

     มีระยะทาง 23 กิโลเมตร แนวเส้นทางโครงสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ เริ่มจากบริเวณคลองบางไผ่ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) กาญจนาภิเษก เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้สะพานพระนั่งเกล้า ก่อนถึงสี่แยกแครายจะเลี้ยวขวาไปตามถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกรุงเทพ - นนทบุรี ถึงบริเวณแยกเตาปูน มีสถานีเตาปูนเป็นสถานีเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT) และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ


สถานีรถไฟฟ้า

     มีจำนวนสถานีทั้งหมด 16 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด


รางรถไฟฟ้า

     เป็นรางมาตรฐาน UIC 60 กว้าง 1.435 เมตร จ่ายกระแสไฟฟ้าโดยรางที่ 3


ศูนย์ซ่อมบำรุง

     มีพื้นที่ประมาณ 170 ไร่ ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร ได้แก่ อาคารโรงซ่อมบำรุงรักษาหลัก อาคารศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้า พื้นที่จอดรถไฟฟ้า อาคารล้างรถไฟฟ้า อาคารเก็บวัสดุมีพิษ อาคารเก็บวัสดุเหลือใช้ พื้นที่สำหรับรางทดสอบรถไฟฟ้า อาคารสำนักงานบริหาร อาคารสถานีไฟฟ้า และอาคารจอดแล้วจร


อาคารจอดแล้วจร

     ในโครงการมีลานจอดรถและอาคารจอดแล้วจร จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1


ขบวนรถไฟฟ้า

     รถไฟฟ้าที่นำมาให้บริการเป็นรถไฟฟ้าประเภทรางหนัก (Heavy Rail) ขนาดกว้าง 3.15 เมตร ยาว 21.5 – 22.14 เมตร สูงประมาณ 3.92 เมตร ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ากระแสตรงแรงดัน 750 โวลต์จากรางที่ 3 (Third rail) ผ่านอุปกรณ์รับไฟฟ้า (Current Collector Shoes) และควบคุมการเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ โดยสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

     ปัจจุบันรถไฟฟ้าในโครงการมีทั้งหมด 21 ขบวน มีความจุผู้โดยสารสูงสุดต่อ 3 ตู้: 1,185 คน โดยรถไฟฟ้าใน 1 ขบวน จะประกอบไปด้วย 3 ตู้ ซึ่งในอนาคตสามารถเพิ่มได้สูงสุด 6 ตู้


ระบบโดยรวมสำหรับงานระบบรถไฟฟ้า

     ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบจ่ายไฟฟ้าและระบบควบคุมและจัดเก็บข้อมูล อุปกรณ์ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้า ระบบประตูกั้นชานชาลา ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และระบบการจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ จะมีลักษณะเดียวกันกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

วงเงินลงทุน

รายการ
เงินลงทุน  
หน่วย
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
9,209.00
ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโยธา
37,893.37
ล้านบาท
ค่างานระบบรถไฟฟ้า
15,800.59
ล้านบาท
รวม
62,902.96
ล้านบาท

สถานที่ท่องเที่ยว




ลิงก์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด