โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

เว็บไซต์โครงการ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

- เว็บไซต์โครงการ ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)

วีดีทัศน์โครงการ



ความเป็นมาของโครงการ

     คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 ได้มีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2553 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการในระยะเวลา 10 ปีแรก (เปิดให้บริการภายใน พ.ศ. 2562) จำนวน 7 สาย ระยะทางรวม 154 กิโลเมตร ซึ่งรวมถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

     ต่อมา ครม. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2560 ได้มีมติอนุมัติให้ รฟม. ดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) กรอบวงเงินรวม 101,112 ล้านบาท


ลักษณะโครงการ

แนวเส้นทาง

      แนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เริ่มต้นจากสถานีเตาปูน (สถานียกระดับ) ซึ่งเป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม และรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นโครงสร้างยกระดับข้ามคลองบางซื่อ จากนั้นลดระดับลงเป็นโครงสร้างใต้ดินลอดใต้กรมสรรพาวุธทหารบกเลี้ยวขวาเลียบแนวถนนทหาร บริเวณพื้นที่กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ผ่านแยกเกียกกาย เข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ถนนราชดำเนินกลาง เข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านวัดราชนัดดารามวรวิหาร สวนรมณีนาถ เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า เข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า ลอดใต้แยกมไหสวรรย์ จากนั้น เปลี่ยนเป็นโครงสร้างยกระดับวิ่งไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกดาวคะนอง แยกบางปะแก้ว ผ่านแยกประชาอุทิศ ข้ามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ผ่านสามแยกพระประแดง และสิ้นสุดที่ครุใน


โครงสร้างทางวิ่ง

      เป็นโครงสร้างผสมระหว่างโครงสร้างทางวิ่งใต้ดินและโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 23.63 กิโลเมตร (โครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน 14.29 กิโลเมตร และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ 9.34 กิโลเมตร)


ระบบรถไฟฟ้า

      เป็นระบบรถไฟฟ้าชนิดรางหนัก (Heavy Rail Transit)


สถานี

      ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี)


ศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงจอดรถไฟฟ้า

      ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าใช้ร่วมกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่ และมีโรงจอดรถไฟฟ้าตั้งอยู่ริมถนนกาญจนาภิเษกด้านใต้ ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางครุ 3 ของทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์)


อาคารจอดแล้วจร

      ประกอบด้วยอาคารจอดแล้วจรบางปะกอกตั้งอยู่ที่สถานีบางปะกอก และอาคารจอดแล้วจรราษฎร์บูรณะ ตั้งอยู่ที่สถานีราษฎร์บูรณะ

วงเงินลงทุน

รายการ
เงินลงทุน
หน่วย
ค่าจ้างสำรวจอสังหาริมทรัพย์
28.73ล้านบาท
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน16,563.13
ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโยธา
83,404.68ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารโครงการและควบคุมงานก่อสร้าง2,860.72ล้านบาท
ค่างานระบบและขบวนรถไฟฟ้า
23,064.00
ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานระบบ
615.00
ล้านบาท
รวม
126,536.26
ล้านบาท

ลิงก์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด