โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

เว็บไซต์โครงการ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

เว็บไซต์โครงการ: https://korat-transitgreenline.net/ 


วีดีทัศน์โครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

       คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 มีมติรับทราบแนวทางการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา และมอบหมายให้ สนข. ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ต่อมาในการประชุม คจร. เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมมีมติรับทราบผลการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทฯ ดังกล่าวตามที่ สนข. เสนอ และมอบหมายให้ รฟม. ดำเนินโครงการและจัดทำแผนดำเนินงานร่วมกับ สนข. โดยมีความเห็นให้ดำเนินการครั้งละ 1 เส้นทางตามลำดับความสำคัญ ทั้งนี้ สนข. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรดำเนินการในเส้นทางสายสีเขียวก่อนเป็นลำดับแรก

ลักษณะโครงการ

แนวเส้นทาง

      แนวเส้นทางเริ่มต้นที่บริเวณตลาดเซฟวัน ฝั่งมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัย แล้วเบี่ยงขวาตามทางรถไฟ มุ่งหน้าตามถนนสืบศิริซอย 6 เลี้ยวซ้ายผ่านทางรถไฟ จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบริเวณวัดใหม่อัมพวัน ไปตามแนวถนนมุขมนตรี ผ่านสวนภูมิรักษ์ สถานีรถไฟนครราชสีมา ห้าแยกหัวรถไฟ บริเวณนี้แนวเส้นทางจะแยกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางขาไปตามถนนโพธิ์กลาง จนถึงบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามถนนราชดำเนินฝั่งคูเมือง จนถึงแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (บริเวณถนนราชดำเนินตัดกับทางหลวงหมายเลข 224) แล้วเลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข 224 ผ่านโรงเรียนเมืองนครราชสีมา โรงเรียนสุรนารีวิทยา และวัดสามัคคี แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกสุรนารายณ์ (ทางหลวงหมายเลข 224 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 205) มุ่งหน้าไปตามถนนสุรนารายณ์ ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ส่วนเส้นทางขากลับจากบริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ถึงแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จะใช้เส้นทางเดียวกับขาไป จากนั้นจะใช้ถนนชุมพลและถนนจอมสุรางค์ยาตร์ จนถึงห้าแยกหัวรถไฟ แล้วใช้เส้นทางเดียวกับขาไปจนถึงตลาดเซฟวัน

แผนที่แนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

โครงสร้างทางวิ่ง

       โครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) มีระยะทางรวม 11.15 กิโลเมตร

ระบบรถไฟฟ้า

          ระบบรถไฟฟ้า (Tram)

สถานี

       ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 21 สถานี

ศูนย์ซ่อมบำรุง

          ศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ติดกับถนนสุรนารายณ์ ตรงข้ามกับสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

 จุดจอดแล้วจร

          อาคารจอดแล้วจร มี 2 จุด คือ บริเวณตลาดเซฟวัน และบริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์


วงเงินลงทุน

รายการ
เงินลงทุน
หน่วย
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
1,199.00
ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโยธา
2,254.70
ล้านบาท
ค่างานระบบรถไฟฟ้า
2,260.36
ล้านบาท
ค่างานจัดหาขบวนรถไฟฟ้า
995.54
ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง
176.59
ล้านบาท
Provisional Sum
248.08
ล้านบาท
รวม
7,134.27
ล้านบาท

ที่มา

     เอกสารข้อมูลโครงการ ประกอบการทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) ณ สิงหาคม 2563

ลิงก์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด