รฟม. มั่นใจ การออกแบบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วมฉับพลันในกรุงเทพฯ

23 สิงหาคม 2567
preview image
รฟม. มั่นใจ การออกแบบสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วมฉับพลันในกรุงเทพฯ
 
ตามที่ สื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ทำให้มีน้ำท่วมในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น นั้น

ในการนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนว่า โครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับดูแลของ รฟม. ที่ก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นพื้นที่ราบ นั้น รฟม. ได้คำนึงถึงการป้องกันปัญหาน้ำท่วมฉับพลันไว้ตั้งแต่การออกแบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ทางขึ้น – ลงสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ถูกออกแบบให้มีความสูงมากกว่าค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดจากสถิติในรอบ 200 ปี นอกจากนี้ ยังจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม โดยมีความสูงเพิ่มเติมอีก 1.00 เมตร (Flood Protection Board) ซึ่งจะสูงราว 2.50 เมตร จากค่าระดับถนนเฉลี่ยในกรุงเทพฯ ที่พร้อมติดตั้งได้ตลอดเวลา
 
2. เมื่อติดตั้งแผ่นป้องกันน้ำท่วมดังกล่าวแล้ว โอกาสที่น้ำจะรั่วเข้าสถานีมีน้อยมาก และ รฟม. ยังได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำบริเวณทางขึ้น-ลง ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT เพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินอีกขั้นหนึ่งพร้อมทั้งได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุโมงค์ สถานี และผนังสถานี ในช่วงน้ำหลากทุกวัน

ดังเห็นได้จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพฯ เมื่อปี 2554 ที่ รฟม. ได้ใช้ประโยชน์จากการออกแบบระบบป้องกันน้ำท่วมดังกล่าว ทำให้โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ไม่ได้รับผลกระทบ และยังสามารถให้บริการประชาชนได้ตามปกติ
 
รฟม. ขอยืนยันว่า การออกแบบโครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับการของ รฟม. เป็นการออกแบบที่คำนึงถึงความปลอดภัยในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานสากล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ติดตามข้อมูลข่าวสาร รฟม. เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และ เฟซบุ๊กแฟนเพจการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทรศัพท์ 0 2716 4044 “รฟม. ร่วมยกระดับเมืองด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”

preview image
preview image
preview image
preview image
preview image
preview image
preview image
preview image
preview image