Responsibility to Stakeholder

preview image
   
     ในปี 2567 รฟม. ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประจำปี 2565 – 2570 (ฉบับปรับปรุงปีงบประมาณ 2568) ศึกษาและเรียนรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้าทั้งในปัจจุบันและอนาคต นำไปสู่การตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้าทุกกลุ่ม สร้างโอกาสใหม่ทางการตลาด และสร้างผลกระทบในเชิงบวก ลดผลกระทบทางลบทางสังคม ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้องค์กรมีระบบการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และก่อให้เกิดการบูรณาการเข้ากับการกำกับดูแลขององค์กร กลยุทธ์ และการบริหารจัดการในทุกระดับ เพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจ ลดความเสี่ยง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน จึงมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

     “พัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนทั้งระบบโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกอย่างสมดุลและยั่งยืน

วัตถุประสงค์ (Purpose)



วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์



ขอบเขต (Scope)
1) ให้การสนับสนุนและปฏิบัติงานตามทิศทาง เป้าหมายที่สำคัญ และคำแนะนำที่ได้รับจากกลุ่มคณะกรรมการ
2) บริหารจัดการกลุ่มบุคลากร รฟม. ให้สามารถร่วมกันปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานต่าง ๆ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3) ผลักดันการดำเนินงานตามนโยบาย/กฎหมายตามกลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐที่กำหนดไว้อย่างบูรณาการ
4) ปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไขของกลุ่มการเงิน และบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
5) กำหนดและควบคุมสัญญาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มพันธมิตร คู่ค้า ผู้ส่งมอบ เพื่อให้ รฟม. บรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานต่าง ๆ
6) ส่งมอบสินค้าและบริการ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับกลุ่มลูกค้าอย่างมีมาตรฐาน มีคุณภาพ และคุ้มค่า
7) ดำเนินงานตามภารกิจของ รฟม. ที่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชุมชน ประชาสังคมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
8) ติดตามข้อมูลสารสนเทศ และสื่อสาร ทำความเข้าใจ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับกลุ่มสื่อมวลชนอย่างรวดเร็ว
9) วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศของคู่แข่งคู่เทียบเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน



กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ และความต้องการ ความคาดหวัง
1) กลุ่มคณะกรรมการ มีความต้องการ ความคาดหวังในการกำหนดกรอบทิศทาง เป้าหมายที่สำคัญขององค์กร ให้คำแนะนำ กำกับการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด โดยคำนึงถึงผลตอบแทน/ประสิทธิภาพที่สูงสุดของ รฟม.
2) กลุ่มบุคลากร รฟม. มีความต้องการ ความคาดหวังในการเป็นบุคลากรและหน่วยงานภายในของ รฟม. ร่วมกันปฏิบัติและดำเนินงานภายใต้การบริหารจัดการและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ รฟม. บรรลุเป้าหมายการดำเนินงานต่าง ๆ
3) กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลและภาครัฐ มีความต้องการ ความคาดหวังในการดำเนินการตามนโยบาย/กฎหมายที่กำหนด การขออนุมัติ/อนุญาตในการดำเนินงาน และตอบสนองต่อความต้องการที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น ๆ
4) กลุ่มการเงิน มีความต้องการ ความคาดหวังในการเจรจาต่อรองผลตอบแทน การปฏิบัติตามสัญญาและเงื่อนไข การรับ-จ่ายเงิน
5) กลุ่มพันธมิตร คู่ค้า ผู้ส่งมอบ มีความต้องการ ความคาดหวังในการร่วมกันปฏิบัติหรือดำเนินงานตามสัญญา เพื่อให้ รฟม. บรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานต่าง ๆ
6) กลุ่มลูกค้า มีความต้องการ ความคาดหวังที่ได้รับสินค้าหรือบริการที่มีมาตรฐาน มีคุณภาพ และคุ้มค่า
7) กลุ่มชุมชน ประชาสังคม มีความต้องการ ความคาดหวังเพิ่มผลกระทบเชิงบวก และ ลดผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินงานของ รฟม. ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
8) กลุ่มสื่อมวลชน มีความต้องการ ความคาดหวังให้ รฟม. ต้องสื่อสาร ทำความเข้าใจ และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
9) กลุ่มคู่แข่งคู่เทียบ มีความต้องการ ความคาดหวังในการสร้างความสามารถในการแข่งขันโดยเปรียบเทียบ


เอกสารประกอบ

ปีงบประมาณ 2566


ปีงบประมาณ 2567