Page 113 - MRTA Annual Report 2021-Thai
P. 113

รายงานประจาปี 2564
111
ผลการดาเนินงานท่ีสาคัญในด้านต่าง ๆ
ผลการดาเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและ สภาพแวดลอ้ มในการทา งานของรฟม.เปน็ การดา เนนิ การทส่ี อดคลอ้ ง ตามกฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้มีการติดตาม เฝ้าระวังเก่ียวกับสถานการณ์โรคระบาดอุบัติใหม่ เพ่ือนาไปสู่การ วางแผนในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในเชิงรุก อาทิ การประกาศนโยบายความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดลอ้ ม ในการทางาน การกาหนดโครงสร้างหน่วยงานและบุคลากรด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน การจัดทาแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพ แวดล้อมในการทางานประจาปี การจัดทามาตรฐานและมาตรการ ที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทางาน ที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมขององค์กร เพื่อแสดงเจตนารมณ์ใน การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยที่ปลอดภัยและเสริมสร้าง คุณภาพชีวิตในการทางานที่ดีของบุคลากร สอดคล้องตามนโยบาย ภาครฐั ”แรงงานปลอดภยั และสขุ อนามยั ด„ี และโครงการความปลอดภยั และอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand)
ในปีงบประมาณ 2564 รฟม. ได้ดาเนินกิจกรรมด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน ท่ีสอดคล้องตามกฎหมาย อาทิ การจัดประชุมคณะกรรมการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน (คปอ.) ประจาเดือน การจัดทาวิดีทัศน์แนะนาการปฏิบัติตนในกรณี ฉุกเฉิน สาหรับผู้ใช้งานอาคารสานักงาน รฟม. การตรวจวัดและ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการทางาน การฝึกอบรมหลักสูตร ความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟฟ้า การจัด บรรยายให้ความรู้ด้านสุขภาพรายไตรมาส การรณรงค์ส่งเสริม วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทางาน ตามมาตรการ 4 หยุด (หยุดคน หยุดเพื่อน หยุดงาน หยุดเครื่องมือ) ตลอดจนดาเนินการ จัดทามาตรการเพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเช้ือไวรัส COVID-19 โดยมีการออกประกาศการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ ระบาดของเชื้อโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 การจัดซื้อเครื่องตรวจวัด อุณหภูมิร่างกาย การจัดตั้งจุดคัดกรองก่อนเข้าอาคารสานักงาน การจัดจุดบริการเจลล้างมือ การแจกหน้ากากผ้าและหน้ากาก อนามัย การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 การดาเนินชีวิตแบบปกติวิถีใหม่ (New Normal) การเว้นระยะห่าง
ทางสังคม (Social Distancing) การฉีดพ่นน้ายาฆ่าเชื้อบริเวณ อาคารสานักงาน รฟม. การแจกจ่ายชุดตรวจวัดไข้ การแจกจ่าย ชุดตรวจ COVID-19 Antigen Test Kit (ATK) การฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคติดเช้ือไวรัส COVID-19 ให้กับพนักงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ รฟม. ได้มีการกากับดูแลผู้รับจ้างก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้มีการ บริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทางานที่สอดคล้องตามมาตรฐาน โดยการกาหนดมาตรการ ด้านความปลอดภัยลงในสัญญาจ้าง และกากับดูแลเพ่ือให้ดาเนินการ ตามปฏิญญาว่าด้วยความปลอดภัยในการก่อสร้างโครงการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (MRTA Safety Declaration: Zero Fatal Accident) โดยมีเป้าหมาย ”การเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต ต้องเป็นศูนย์„ เพื่อแสดงออกถึงความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบ ตลอดจนเพ่ือควบคุมการเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์และลดผล กระทบจากการดาเนินกิจกรรมของโครงการต่อบุคลากร ประชาชน และส่ิงแวดล้อม การตรวจภาคสนาม ด้านความปลอดภัยในการ ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าช่วงเวลากลางวัน (Day Audit) และช่วง เวลากลางคืน (Night Audit) ตามแผนการตรวจเยี่ยมด้านความ ปลอดภัยโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน อีกทั้ง รฟม. ได้มี การประเมินผลการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการก่อสร้าง และเจ้าหน้าท่ีความปลอดภัยในการทางานของผู้รับจ้างก่อสร้างตาม วงรอบ (ทุก 6 เดือน) เพ่ือยกระดับและรักษามาตรฐานด้านความ ปลอดภัยในการทางานให้มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ดว้ ยความมงุ่ มนั่ ในการดา เนนิ การดา้ นความปลอดภยั อาชวี อนามยั และสภาพแวดล้อมในการทางาน ของผู้บริหาร บุคลากร รฟม. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางานดังกล่าว จึงทาให้ รฟม. ประสบความสาเร็จจนเป็นท่ียอมรับและได้รับรางวัลจาก กิจกรรมการรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทางานให้เป็นศูนย์ (Zero Accident Campaign) ประจาปี 2564 ประกาศเกียรติคุณ ”ระดับแพลทิน่ัม„ ซึ่งเป็นระดับชั้นสูงสุด นับเป็นปีท่ี 5 ติดต่อกัน ที่ได้รับรางวัล ทั้งนี้ รางวัลดังกล่าวจัดข้ึนโดยสถาบันส่งเสริม ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทางาน (องค์การมหาชน) กระทรวงแรงงาน


































































































   111   112   113   114   115